หน้าแรก / สาระน่ารู้ / ขั้นตอนการก่อสร้าง
ขั้นตอนการก่อสร้าง
หน้าแรก / ขั้นตอนการก่อสร้าง

งานโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก

Line

งานโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก

Line
          เมื่อพูดถึงระบบการก่อสร้างที่อยู่อาศัยในปัจจุบันจะเห็นว่ามีการพัฒนาอยู่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งศูนย์รับสร้างบ้านพีดีเฮ้าส์ เองก็ได้พัฒนาและหันมาใช้ระบบ Prefabrication & Multi-joint Lock System หรือ MLS ระบบโครงสร้างสำเร็จรูปด้วยการออกแบบทางวิศวกรรมและควบคุมคุณภาพในทุกขั้นตอนการผลิตจากโรงงาน จากทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญและชำนาญงานมากว่า 20 ปี โดยเน้นย้ำถึงความแม่นยำเป็นสำคัญ  ลดการใช้แรงงาน สามารถทำงานได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น จากแบบเดิม ๆ ที่จะต้องใช้วิธีเทคอนกรีตในที่ จึงต้องมีขั้นตอนการตีแบบ ผูกหรือเสริมเหล็ก ผสมคอนกรีต เทคอนกรีต และรอเวลาให้คอนกรีตแห้ง เพื่อถอดแบบออกและต้องบ่มคอนกรีตอีกระยะหนึ่งก่อนที่จะทำงานต่อไปในขั้นตอนอื่นๆทำให้เสียเวลาไปมาก

โดยชิ้นส่วนโครงสร้างสำเร็จรูปนั้นจะมีอยู่หลายส่วนด้วยกัน ดังนี้
1. ฐานรากสำเร็จรูป เป็นโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ใช้สำหรับประกอบชุด J-Bolt เพื่อรับน้ำหนักจากเสาลงสู่ฐานรากถ่ายลงสู่เสาเข็ม โดยจะมี 2 แบบคือ ฐานรากสำเร็จรูปสำหรับเสาเข็มเดี่ยว จะมีขนาดความกว้าง 0.45 x 0.45 เมตร และ 0.60 x 0.60 เมตร ขึ้นอยู่ขนาดเสาเข็มที่ใช้ตามที่วิศวกรกำหนด และฐานรากสำเร็จรูปสำหรับเสาเข็มคู่จะมีขนาด 0.60 x 1.20 เมตร ใช้สำหรับฐานรากที่รับน้ำหนักมาก

ส่วนประกอบของฐานรากนั้นจะประกอบด้วย
1.1 เหล็ก Dowel หรือ J-Bolt เป็นเหล็กข้ออ้อยขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 16 มิลลิเมตร พับมุมฉากที่ฐานเป็นรูปตัว J ความยาวประมาณ 0.40 เมตร ส่วนปลายบนสุดจะทำเกลียวยาวประมาณ 7 เซนติเมตร เพื่อใช้ยึดฐานเสา
1.2 เสาตอม่อสำเร็จรูป เพื่อใช้รับคานยื่น ลักษณะเป็นเสาคอนกรีตขนาดเท่าเสาอาคาร ความสูงจะขึ้นไปจรดท้องคาน ส่วนบนเป็นแผ่นเหล็กสำหรับเชื่อมกับแผ่นเหล็กที่ฝังมากับท้องคาน
2. เสาสำเร็จรูป เป็นโครงสร้างแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก ขนาดและรูปแบบตามที่วิศวกรออกแบบทำหน้าที่รับน้ำหนักจากคาน และถ่ายน้ำหนักลงสู่ฐานราก โดยปกติจะออกแบบเป็นเสาสั้นช่วงเดียวในแต่ละชั้น ยกเว้นออกแบบเป็นเสายาวในกรณีพิเศษ

โดยส่วนประกอบของเสาจะประกอบด้วย
            2.1 ชุดถ่ายแรงที่อยู่ฐานเสา ในที่นี้จะเรียกว่าชุด Column Plate สามารถรับแรงอัด, โมเมนต์ ได้ดี เป็นเหล็กรูปพรรณประกอบ เชื่อมติดกับเหล็กเส้นฝังไว้ในคอนกรีตเสา พร้อมเจาะรูเพื่อรับเหล็ก Dowel ที่หล่อติดกับฐานราก หรือ เสาชั้นล่าง
            2.2 ชุดถ่ายแรงจากคานลงสู่เสา ในที่นี้จะเรียกว่าชุด Socket - A โดยจะฝังไว้ในเสา ตามตำแหน่งที่มีการถ่ายแรงคานลงสู่เสา
3. คานสำเร็จรูป เป็นโครงสร้างที่สามารถผลิตได้เป็น 2 แบบ คือ คานคอนกรีตเสริมเหล็กโดยทั่วไป และ คานคอนกรีตอัดแรง โดยส่วนมากจะออกแบบเป็นคานช่วงเดียวไม่ให้ต่อเนื่องกัน การเจาะเสียบเหล็กต่าง ๆ ในคานอัดแรงต้องระมัดระวังไม่ให้เจาะโดนลวดอัดแรงโดยเด็ดขาด


ส่วนประกอบของคาน

ชุดถ่ายแรงคานสู่เสาหรือคานสู่คาน ในที่นี้จะเรียกว่า Socket - C โดยจะถูกหล่อติดกับหัวคานทั้ง 2 ด้าน เพื่อทำหน้าที่รับน้ำหนักจากพื้นส่งผ่าน Socket – B ไปยัง Socket -A
3.1 ชุดถ่ายแรงคานซอย หรือ Socket – A ติดตั้งด้านข้างคานหลัก ทำหน้าที่รับคานซอยที่มาฝากกับคานหลัก  ชุด Socket - B หมายถึง ชุดถ่ายแรงจากคานลงสู่เสา หรือชุดถ่ายแรงคานลงสู่คาน ซึ่งมีความหนาแตกต่างกันตามรายการคำนวนของผู้ออกแบบ Socket – B โดยปกติที่ใช้จะมี 3 ขนาดตั้งแต่ 9-15 มิลลิเมตร
3.2 เหล็กรัดหัวแผ่นพื้น เป็นเหล็กเส้น ขนาด 6 มิลลิเมตร เสียบไว้ที่หลังคานที่รับแผ่นพื้นสำเร็จ
3.3 เหล็กแผ่นหลังคานหรือเหล็กฉากสำหรับเชื่อมยึดถาดห้องน้ำ, บันไดสำเร็จรูป, หรืออุปกรณ์อื่นๆ
3.4 เหล็กเสริมเสา CX หรือ J-Bolt ที่ใช้รับน้ำหนักเสา
3.5ช่องบล็อกช่องเปิดสำหรับการเดินท่อน้ำทิ้งหรือท่อน้ำดีต่างๆ
4. บันไดสำเร็จรูป จะผลิตเป็นชิ้นตามความยาวในแต่ละช่วงบันได ส่วนใหญ่เป็นบันไดแบบท้องเรียบการออกแบบเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กทั่วไป และมักจะเสริมเหล็กให้มากกว่าปกติ เพื่อการขนส่ง, ยกกองและติดตั้ง เนื่องจากมักจะเสียหายบ่อยครั้ง
5. ถาดห้องน้ำสำเร็จรูป เป็นชิ้นงานที่มีขนาดเท่ากับขนาดห้องน้ำแต่ละห้อง พร้อมฝังท่องานระบบสุขาภิบาลมาแล้วเสร็จตามตำแหน่งการติดตั้งสุขภัณฑ์ ออกแบบเป็นพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กทั่วไปพร้อมทั้งจะออกแบบให้เป็นรูปกระทะโดยจะยกขอบทั้ง 4 ด้านเพื่อป้องกันน้ำไหลออกด้านข้าง
6. พื้นสำเร็จรูปท้องเรียบแบบตัน (Solid Plank) จะใช้ขนาดมาตรฐาน กว้าง 35 เซนติเมตร หนา 5 เซนติเมตร ยาวไม่เกิน 4.00 เมตร หรือน้ำหนักที่ 42 กิโลกรัม/เมตร โดยออกแบบและผลิตเป็นคอนกรีตอัดแรง กรณีที่มีความยาวตั้งแต่ 2.50 เมตร ขึ้นไปจะต้องมีเหล็กเหล็กยึดข้างแผ่น สำหรับเชื่อมติดแต่ละแผ่นเข้าด้วยกัน เพื่อกระจายน้ำหนัก

ข้อดีของโครงสร้างสำเร็จรูป
1.ลดระยะเวลาในการก่อสร้าง เมื่อเปรียบเทียบกับระบบหล่อในที่จะเห็นว่าขั้นตอนต่างๆจะลดลง เนื่องจากมีการออกแบบและผลิตชิ้นส่วนมาจากโรงงานแล้ว ทำให้การทำงานมีความสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น
2.ลดการใช้แรงงาน เนื่องจากระบบโครงสร้างสำเร็จรูป มีการผลิตชิ้นส่วนจากโรงงานและนำมาติดตั้งบริเวณสถานที่ก่อสร้าง ทำให้ไม่ต้องใช้แรงงานที่มากนัก ช่วยลดปัญหาการขาดแรงงานได้อีกด้วย
3.ลดมลภาวะเรื่องฝุ่นและเสียง เนื่องจากการก่อสร้างด้วยโครงสร้างสำเร็จรูปจะไม่มีปัญหาในเรื่องของเศษวัสดุ ทำให้บริเวณสถานที่ก่อสร้างมีความเรียบร้อยและสะอาดมากขึ้น
4.คุณภาพของโครงสร้าง ด้วยการผลิตโครงสร้างในระบบโรงงานด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย สามารถควบคุมคุณภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่างานโครงสร้างหล่อในที่ ทำให้ชิ้นส่วนทุกชิ้นมีความแข็งแรงและได้มาตรฐานตามหลักวิศวกรรม
ศูนย์รับสร้างบ้านพีดีเฮ้าส์
เราสร้างบ้านเพื่ออนาคต

Line