ลงทะเบียนรับสิทธิพิเศษ
  • ลงทะเบียนรับสิทธิพิเศษ
นิตยสารบ้านสุขใจ
Line
01 เม.ย.2549

เมษายน 2549 ครั้งที่ 2

Line

(เดือนเมษายน 2549 ครั้งที่ 2)

  หลายท่านคงสนุกสนานกับประเพณีสาดน้ำในช่วง
 เทศกาลวันสงกรานต์กันไปแล้ว บางท่านก็พาครอบครัว
 เดินทางไปเที่ยวพักผ่อนในต่างจังหวัดหรือต่าง ประเทศ
บ้างตามอัดภาพโดยเฉพาะในช่วงเดือนเมษายนนี้อากาศ
ร้อนอบอ้าวมากๆ ก็เป็นการหลบร้อนและถือเป็นการไปเติม
พลัง แต่ก็ดูเหมือนว่าเศรษฐกิจของประเทศยังมีปัจจัยลบ
ที่จะต้องแก้ไขร้อนๆไม่แพ้กัน อย่างไรก็ดีขณะกระผม
กำลังนั่งเขียนต้นฉบับอยู่นี้ทีมงานทุกคนก็กลับมาเริ่ม
ลุยงานกันต่อ หลังจากชาร์ตแบตเตอรี่กันเต็มที่แล้ว
    

     เปิดทำการขึ้นมาวันแรกก็มีโจทย์หรือปัจจัยลบใหม่ ที่จะต้องเตรียมรับมือและหาทางแก้ไขกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นทันทีก็คือ ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งดูเหมือนว่าปัจจัยลบดังกล่าว จะยิ่งเป็นการตอกย้ำให้ภาคธุรกิจ โดยเฉพาะภาคธุรกิจรับสร้าง บ้านมีความสั่นคลอนไม่น้อยทีเดียว ซึ่งโดยปกติการบริหาร ความเสี่ยงของธุรกิจรับสร้างบ้าน เกี่ยวกับต้นทุนราคาวัสดุก่อสร้าง ค่าแรงและค่าดำเนินการนั้น ก็ถือว่ายากลำบากและ มีความ เสี่ยงสูงอยู่แล้ว แต่เมื่อมาเจอเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึงก็จะประสบกับ ปัญหาขาดทุนทันที เพราะลักษณะธุรกิจเป็นการตกลงรับจ้างค่า งานล่วงหน้าและยังใช้ระยะเวลาก่อสร้างก่อนส่งมอบนานหลายเดือน ในขณะที่ผู้ประกอบการเองก็ไม่สามารถควบคุมความ ผันผวนต้นทุนวัสดุและค่าแรงเอาไว้ได้ หรือแม้จะขอปรับราคา เพิ่มอันเนื่อง จากต้นทุนที่สูงขึ้นในระหว่างก่อสร้างก็ทำไม่ได้เช่นกัน
    
     ดังนั้นในอดีตที่ผ่านมา จึงไม่ใช่เรื่องแปลกเมื่อมีผู้ประกอบการเลิกหรือปิดกิจการลงกลางคัน ในขณะที่ยังก่อสร้างบ้าน
ไม่แล้วเสร็จ หรือยังมิได้ส่งมอบงานก่อสร้าง เพราะทนประสบกับภาวะขาดทุนและบริหารกิจการต่อไปไม่ไหว และผู้บริโภค ต้องรับชะตากรรม ไปด้วย ปัญหานี้มีเหตุผลสำคัญมาจากตัวผู้ประกอบการเองขาดความเข้าใจในการบริหารความเสี่ยงของ
ธุรกิจรับ สร้างบ้านดีพอ โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายเล็กๆที่เกิดใหม่และขาดประสบการณ์โดยตรง ซึ่งมักจะมองว่าธุรกิจ
รับสร้างบ้าน เป็นเรื่องง่ายๆ และ มีกำไรดี ทำให้เกิดความผิดพลาดในการกำหนดราคาที่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง ในขณะที่การ คำนวณต้นทุนก็ขาด ความละเอียด รอบคอบด้วย

     ที่เขียนมาข้างต้นนี้ดูเหมือนว่าจะเป็นเรื่องของผู้ประกอบการเองที่ผิดพลาด แต่ที่ต้องเก็บมาเล่าสู่กันฟังก็เพราะว่าผลกระทบ ที่เกิดขึ้นนั้น เจ้าของบ้านหรือผู้บริโภคเองคือ ผู้ที่เดือดร้อนมากที่สุด เพราะว่าจ้างสร้างบ้านแล้วไม่ได้บ้าน ซึ่งหลายท่า อาจจะไม่ ทราบว่าผู้ประกอบการที่ล้มหายหรือปิดกิจการไปนั้น หลายๆรายก็กลับมาเปิดกิจการใหม่ใช้ชื่อหรือตั้งชื่อบริษัท ขึ้นมาใหม่ โดยผู้บริโภคเองก็ไม่รู้แล้วก็มีผู้ตกเป็นเหยื่อผู้ประกอบการเหล่านี้อีก เพราะหลุมดำที่เขาวางไว้คือ “ ราคาถูกกว่า”

     สารพัดเหตุผลที่หยิบยกมากล่าวอ้างว่ารับสร้างบ้านได้ถูกกว่าผู้ประกอบการรายกลาง-รายใหญ่ อาทิเช่น ไม่มีต้นทุนค่าการตลาด หรือค่าโฆษณา, ต้นทุนค่าบริหารพนักงานต่ำกว่า, คิดกำไรน้อยกว่ารายกลาง-ใหญ่ ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งทำให้ผู้บริโภคเองก็เข้าใจ เช่น นั้นตามไปด้วย โดยเฉพาะการเสนอและตกลงราคาค่าก่อสร้างบ้านกันเป็นตารางเมตร ระหว่างผู้ว่าจ้างกับผู้ประกอบการที่ขาด ความเข้าใจและประสบการณ์ โดยส่วนตัวเองก็ไม่เข้าใจว่าวิธีตกลงราคาเป็นตารางเมตรเช่นนี้กลายเป็นบรรทัดฐานได้อย่างไร

     เมื่อกล่าวถึงเรื่องนี้ ก็อดสงสัยไม่ได้เช่นกันว่าทำไมบางสถาบันหรือบางหน่วยงานที่ผู้บริโภคนำมาอ้างอิงเกี่ยวกับราคาค่าก่อ
สร้างบ้าน จึงยังใช้ข้อมูลหรือประกาศราคาบ้านเฉลี่ยตารางเมตรละ 8,000 – 10,000 บาท ซึ่งยึดถือและใช้มานานประมาณ 7-8 ปีแล้ว หากลองมาพิจารณาถึงรายละเอียดของต้นทุนค่าก่อสร้างหรือเปรียบเทียบราคาวัสดุ ณ วันนี้ กับราคาวัสดุก่อสร้างเมื่อปี 2543(ประมาณ 5 ปี) ก็จะสิ่งที่น่าสงสัยว่าราคาบ้านต่อตารางเมตรจะยังสามารถนำมายืนยันค่าก่อสร้างในปัจจุบันได้จริงหรือไม่ (ดูตัวอย่างข้างท้ายนี้)

    
ชนิดวัสดุ
หน่วย
ราคาวัสดุปี 2543
ราคาวัสดุในปัจจุบัน
หมายเหตุ
ปูนซิเมนต์
ถุง
68 บาท
110 บาท
ไม่รวม VAT
เหล็กเส้น
กิโลกรัม
11- 12 บาท
22-28 บาท
ไม่รวม VAT
ไม้ยาง
คิวฟุต
220 บาท
480 บาท
ไม่รวม VAT
ไม้เต็ง
คิวฟุต
330 บาท
550 บาท
ไม่รวม VAT
ทรายหยาบ
คิว
180-200 บาท
340-360 บาท
ไม่รวม VAT
หิน
คิว
230-240 บาท
380-400 บาท
ไม่รวม VAT
ฯลฯ


    จะเห็นได้ว่าราคาวัสดุก่อสร้างหลักๆพุ่งทะยานขึ้นมาเฉลี่ย 70-80 % ซึ่งยังไม่รวมถึงค่าบริหารจัดการอีกหลายประการ ดังนั้น หากราคาค่าก่อสร้างบ้านโดยเฉลี่ยในปัจจุบัน ยังคงเดิมหรือใกล้เคียงกันก็คงดูจะสวนทางกันอย่างสิ้นเชิง แต่ในเมื่อผู้ประกอบการ ที่ไม่เข้าใจต้นทุนที่แท้จริงและขาดประสบการณ์ นำข้อมูลนี้มาใช้ในการบริหารธุรกิจและใช้บริหารความเสี่ยงนำเสนอราคา ค่าก่อสร้างบ้านต่อลูกค้าและผู้บริโภค ซึ่งต้องยอมรับว่าผู้บริโภคโดยส่วนใหญ่แล้วก็ไม่มีความรู้ที่ลึกซึ้งเท่ากับตัวผู้ประกอบการเอง ดังนั้นด้วยความไม่รู้ของทั้ง 2 ฝ่าย จึงทำให้ต้องประสบชะตากรรมร่วมกัน กลายเป็นปัญหาที่ต่างฝ่ายต่างไม่คาดคิดกันมาก่อน ฉะนั้นระมัดระวังกันหน่อยนะครับกระผมไม่อยากเห็น “ ปัญหาสร้างบ้านไม่ได้บ้าน” เพราะมันไม่เป็นการดีต่อภาพรวมของธุรกิจรับ สร้างบ้าน โดยเฉพาะกับสภาพเศรษฐกิจและปัจจัยเสี่ยงในปี 2549 นี้
 

นายสิทธิพร สุวรรณสุต
ประธานกรรมการ