ลงทะเบียนรับสิทธิพิเศษ
  • ลงทะเบียนรับสิทธิพิเศษ
ข่าวอสังหาริมทรัพย์
Line
30 ก.ย.2559

ผังเมือง กทม. รื้อกฎคุมตึกสูง เจ้าของที่ดินแปลงเล็ก 25 เขตมีลุ้น

Line
ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครฉบับปัจจุบัน หลังบังคับใช้มาได้ 3 ปี แม้ว่ากฎหมายผังเมืองจะไม่มีวันหมดอายุ แต่ด้วยสถานการณ์ที่เปลี่ยนผ่าน ทำให้ "สำนักผังเมือง กทม." ต้องรีวิวการใช้ประโยชน์ที่ดินใหม่ให้สอดรับกับสภาพปัจจุบัน โดยเฉพาะพื้นที่กรุงเทพฯชั้นในและชั้นกลางที่ค่อนข้างหนาแน่น รื้อการพัฒนาพื้นที่ 25 เขต

ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครฉบับปัจจุบัน หลังบังคับใช้มาได้ 3 ปี แม้ว่ากฎหมายผังเมืองจะไม่มีวันหมดอายุ แต่ด้วยสถานการณ์ที่เปลี่ยนผ่าน ทำให้ "สำนักผังเมือง กทม." ต้องรีวิวการใช้ประโยชน์ที่ดินใหม่ให้สอดรับกับสภาพปัจจุบัน โดยเฉพาะพื้นที่กรุงเทพฯชั้นในและชั้นกลางที่ค่อนข้างหนาแน่น

 
รื้อการพัฒนาพื้นที่ 25 เขต
 
ความคืบหน้าล่าสุด "รศ.ดร.นพนันท์ ตาปนานนท์" ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางผังเมือง กล่าวว่า จากผลศึกษาแนวโน้มการขยายตัว การใช้ประโยชน์ที่ดิน ศักยภาพด้านการคมนาคมและระบบสาธารณูปโภค ในพื้นที่ศึกษา 25 เขต ซึ่งเป็นเขตกรุงเทพฯชั้นกลางและชั้นใน ได้แก่ พระนคร ป้อมปราบศัตรูพ่าย สัมพันธวงศ์ ดุสิต บางซื่อ จตุจักร ห้วยขวาง ดินแดง พญาไท คลองสาน ธนบุรี บางกอกน้อย บางกอกใหญ่ บางพลัด ภาษีเจริญ จอมทอง และราษฎร์บูรณะ

พบว่าแปลงที่ดินส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการก่อสร้างอาคารตามอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ (FAR) ที่ผังเมืองกำหนดไว้ รวมถึงอาคารส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก และมีสภาพเสื่อมโทรม แต่ไม่สามารถรื้อถอนและสร้างขึ้นใหม่ได้ เพราะต้องมีระยะถอยร่นตามกฎหมายควบคุมอาคารที่กำหนดไว้ ซึ่งไม่คุ้มกับการลงทุนสร้างอาคารใหม่

ขณะที่ถนนส่วนใหญ่ยังแคบและไม่มีความต่อเนื่องกัน ทำให้เกิดข้อจำกัดต่อการก่อสร้างอาคาร เนื่องจากความสูงที่สร้างต้องมีไม่เกินที่กฎหมายกำหนด ทำให้การเปลี่ยนแปลงหรือก่อสร้างใหม่จึงทำได้ยาก

ผังเมืองยังไม่ตอบโจทย์

สำหรับข้อเสนอ"รศ.ดร.นพนันท์"กล่าวว่าจากการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่เกี่ยวข้องให้จัดทำแผนผังแสดงการจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินใหม่ โดยใช้มาตราส่วนที่มีรายละเอียดมากขึ้นกว่าเดิม จากปัจจุบันมาตราส่วนที่กรุงเทพฯใช้อยู่ที่ 1 : 75,000 มองว่ายังไม่ละเอียดมากพอ ทำให้การจำแนกพื้นที่ต่าง ๆ ทำได้ยาก เช่น พื้นที่กรุงเทพฯชั้นในควรใช้มาตราส่วนอย่างน้อย 1 : 10,000 จะทำให้จำแนกการใช้ประโยชน์ของที่ดินได้ดีขึ้น

อีกทั้งให้เพิ่มข้อกำหนดการควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินและการควบคุมความหนาแน่นโดยเฉพาะการควบคุมระยะถอยร่นและความสูงของอาคาร ส่วนด้านการวางผังโครงสร้างพื้นฐานทั้งผังแสดงที่โล่ง ผังแสดงโครงการคมนาคมและขนส่ง และผังแสดงโครงการกิจการสาธารณูปโภคของในผังเมืองรวมกรุงเทพฯ 2556 ยังไม่มีการทำงานแบบบูรณาการร่วมกัน เช่น การดึงสายไฟฟ้าลงดิน ไม่มีการประสานงานกัน

แนะแก้ไข FAR-ระบบโบนัส

นอกจากนี้ให้อาคารประหยัดพลังงาน การจัดให้มีที่จอดรถสำหรับประชาชนทั่วไปในบริเวณพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟฟ้า การจัดให้มีที่อยู่อาศัยราคาถูก นำระบบโบนัสไปใช้ เนื่องจากปัจจุบันยังใช้ไม่ครอบคลุม มีเฉพาะการจัดให้มีพื้นที่เพื่อประโยชน์สาธารณะ สวนสาธารณะ และการจัดให้มีพื้นที่รับน้ำเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมที่ใช้เท่านั้น

"ผังเมือง กทม.ปัจจุบันนำ FAR มาใช้คุมการพัฒนาพื้นที่ แต่หากพื้นที่ไหนที่จัดพื้นที่ให้ตามเงื่อนไขกำหนดจะได้โบนัสพัฒนาพื้นที่ได้เพิ่ม 20% ของพื้นที่อาคารรวม จำเป็นต้องมีการแก้ไขปรับปรุงเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากข้อกำหนดได้"

ให้สิทธิ์การโอนพื้นที่

รวมทั้งเสนอให้มีข้อกำหนดการโอนสิทธิ์การพัฒนาระหว่างพื้นที่ได้ประกอบด้วย1.ระหว่างแปลงที่ดินภายในบริเวณการใช้ประโยชน์ที่ดิน2.จากแปลงที่ดินที่เป็นที่ตั้งของอาคารอนุรักษ์ ไปยังแปลงที่ดินในเขตส่งเสริมการพัฒนา เช่น ตึกแถวที่ได้รับประกาศให้เป็นอาคารอนุรักษ์สามารถขายสิทธิ์ FAR ให้กับอาคารที่อยู่คนละพื้นที่ได้

และ 3.จากแปลงที่ดินในเขตอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปยังแปลงที่ดินในเขตส่งเสริมการพัฒนา เช่น บางกระเจ้า ที่ต้องเสียพื้นที่ให้เป็นเขตอนุรักษ์ธรรมชาติ สามารถขายสิทธิ์ FAR ได้ รวมถึงให้สามารถรวมแปลงที่ดินได้ เป็นการแก้ไขปัญหาสำคัญของที่ดินขนาดเล็กที่อยู่ในกรุงเทพฯชั้นกลางและชั้นใน
 
 
ที่มา : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
(29 กันยายน 2559)