หน้าแรก / สาระน่ารู้ / รักษ์พลังงาน รักษ์โลก
รักษ์พลังงาน รักษ์โลก
หน้าแรก / รักษ์พลังงาน รักษ์โลก

เปลือก อาคารเพื่อบ้านอนุรักษ์พลังงาน

Line

เปลือก อาคารเพื่อบ้านอนุรักษ์พลังงาน

Line
  
 

          “วัสดุกรอบอาคารเปรียบเสมือนเปลือกที่หุ้มอาคารไว้” การออกแบบเปลือกอาคารที่ดีจะต้องตอบสนองต่อสภาพอากาศในท้องถิ่น สำหรับประเทศไทยอยู่ในเขตภูมิอากาศร้อนชื้น ดังนั้นการป้องกันความร้อนจากดวงอาทิตย์จึงเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ด้วยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่ก้าวหน้าในปัจจุบันการออกแบบอาคารสมัยใหม่สามารถทำได้ง่ายขึ้น การเลือกใช้วัสดุที่สามารถป้องกันความร้อนได้ดีภายในอาคารก็จะอยู่ในสภาวะน่าสบาย ผู้อยู่อาศัยไม่ร้อน และช่วยลดภาระในการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศ ช่วยให้โลกลดการใช้พลังงานสิ้นเปลืองให้น้อยลง
          วัสดุกรอบอาคารโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ วัสดุทึบแสง และวัสดุโปร่งแสง ซึ่งนำมาใช้เป็นส่วนของผนัง ช่องเปิด และหลังคา แนวทางในการพิจารณาออกแบบและเลือกใช้วัสดุกรอบอาคาร เพื่อเพิ่มความสามารถในการต้านทานความร้อนให้กับผนังและหลังคา มีดังนี้

การลดความร้อนที่ผ่านเข้ามาทางผนัง
  • เพิ่มความสามารถในการต้านทานความร้อนให้กับผนังโดยติดตั้งฉนวนกันความร้อนที่ผนัง หรือใช้ผนัง 2 ชั้น
  • มีช่องว่างอากาศ (Air-gap) ระหว่างชั้นของผนังเพื่อให้อากาศเป็นฉนวนกันความร้อน โดยเฉพาะผนังทางทิศตะวันตกที่ได้รับความร้อนมาก
  • สีทาผนังภายนอกควรเป็นสีอ่อนหรือใช้วัสดุผิวมันเพื่อสะท้อนความร้อน
  • ทำที่บังแดดเพื่อให้ผนังอยู่ในร่มเงาตลอดทั้งวัน โดยเว้นช่องว่างระหว่างที่บังแดดกับผนังเพื่อลดการสะสมความร้อน
  • ผนังที่มีการเล่นผิว (Texture) เพิ่มพื้นที่ผิวช่วยลด
    ผลกระทบจากความร้อน
 

การลดความร้อนที่ผ่านเข้ามาทางหลังคา

       หลังคาเป็นส่วนที่รับความร้อนตลอดทั้งวันและมีอิทธิพลต่อภาระการทำความเย็นในอาคารเป็นอย่างมาก ความร้อนมากกว่าร้อยละ 90 มาจากการแผ่รังสีความร้อนผ่านหลังคาเข้ามาภายในอาคาร 
  • เพิ่มความสามารถในการต้านทานความร้อนให้กับหลังคาโดยการติดตั้งฉนวนกันความร้อนใต้หลังคา โดยอาจมีช่องระบายอากาศเพื่อระบายอากาศร้อนจาก
    ใต้หลังคาออกสู่ภายนอกอาคาร 
  • ติดตั้งแผ่นฟิล์มอลูมินั่มที่สะท้อนความร้อนได้ดีไว้ที่ด้านล่างของหลังคา 
  • เลือกใช้หลังคาสีอ่อนเพื่อสะท้อนรังสีอาทิตย์ 
  • หลีกเลี่ยงการทำช่องแสงบนหลังคา (Skylight)
  • วัสดุหลังคาควรเป็นวัสดุที่มีมวลสารน้อย มีการดูดกลืนและสะสมความร้อนต่ำ มีค่าความต้านทานความร้อนสูง (R) สูง
  • ออกแบบหลังคาเป็นทรงจั่วเพื่อเพิ่มช่องว่างอากาศใต้หลังคา หรือทำเป็นหลังคา 2 ชั้น หรือหลังคาทรงสูงเพื่อระบายอากาศร้อนออกด้านบน ไม่ควรเป็นหลังคาแบนและหนา

การลดความร้อนที่ผ่านเข้ามาทางช่องเปิด
  • พิจารณาให้มีสัดส่วนของพื้นที่กระจกต่อพื้นที่ผิวของอาคารเฉพาะเท่าที่จำเป็นเพื่อการใช้ประโยชน์จากแสงธรรมชาติอย่างเพียงพอ
  • หลีกเลี่ยงรังสีตรงจากดวงอาทิตย์ที่จะส่องผ่านช่องเปิดของอาคาร โดยเฉพาะอาคารปรับอากาศควรมีหน้าต่างน้อยที่สุด หรือมีเฉพาะด้านทิศเหนือและใต้ของอาคาร
  • มีส่วนยื่น ชายคา กันสาด หรือปลูกต้นไม้เพื่อบังแสงแดดให้กับช่องเปิดทุกๆ ทิศ โดยเฉพาะหน้าต่าง ประตู หรือผนังกระจก ด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตก
 
การเลือกใช้กระจกเพื่อการประหยัดพลังงาน
  • ใช้กระจกที่มีค่าสัมประสิทธิ์การบังแดดต่ำเพื่อลดปริมาณรังสีอาทิตย์ (คลื่นสั้น) ที่ผ่านกระจกเข้าสู่ภายในอาคารและเปลี่ยนเป็นความร้อน (คลื่นยาว) 
  • ใช้กระจกที่มีค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อนรวม (U) ต่ำ เพื่อลดปริมาณความร้อนที่เกิดจากการนำ (Conduction) จากภายนอกเข้าสู่ภายในอาคาร เช่น กระจก 2 ชั้น (Double Glazing)
  • เลือกวัสดุกระจกที่มีค่า SHGC (Solar Heat Gain Coefficient) ต่ำ เป็นผลรวมของรังสีอาทิตย์ที่ส่งผ่านกระจกกับส่วนของรังสีที่ถูกดูดซับอยู่ภายในกระจก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผนังทางด้านทิศตะวันออก
    ทิศตะวันตก และทิศใต้ เพื่อป้องกันรังสีอาทิตย์ และเพื่อความสบายตาของผู้ใช้งานอาคาร
 
ตัวอย่างคุณสมบัติของกระจกชนิดต่างๆ ที่มีการนำมาใช้งานในปัจจุบัน ได้แก่
  • กระจกตัดแสง (Tinted Glass) ลดแสงจ้าและความร้อน
  • กระจกดูดกลืนความร้อน (Heat-Absorbing Glass) ดูดซึมความร้อนได้ 45%
  • กระจกเคลือบผิวสะท้อนแสง (Reflective Metallic Coating) ลดทั้งความร้อนและ
    แสงสว่าง
  • กระจกสองชั้น (Double Glazing) ลดความร้อนได้ถึง 80% และยอมให้แสงสว่างผ่านเข้าได้มาก
  • กระจกติดฟิล์ม Low E (Low Emissivity) ช่วยลดความร้อนที่เข้าสู่อาคารได้มาก
 

 
โครงการประกวดบ้านจัดสรรอนุรักษ์พลังงานดีเด่น
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน
 

Save Energy, Love the Earth

เลือกวัสดุสร้างบ้านอย่างไรให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

กระแสการใส่ใจต่อสภาพแวดล้อมนับวันมีแต่ถูกพูดถึงมากขึ้น ซึ่งส่งผลต่อเทรนด์การอยู่อาศัยอย่างไรให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

เปลือก อาคารเพื่อบ้านอนุรักษ์พลังงาน

การออกแบบเปลือกอาคารที่ดีจะต้องตอบสนองต่อสภาพอากาศในท้องถิ่น สำหรับประเทศไทยอยู่ในเขตภูมิอากาศร้อนชื้น ดังนั้นการป้องกันความร้อนจากดวงอาทิตย์จึงเป็นเรื่องสำคัญที่สุด

รู้จัก 5 นวัตกรรมเพื่อการอยู่อาศัยในบ้านและการใช้ชีวิต

เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับการอยู่อาศัยภายในบ้านและการใช้ชีวิตกันบ้าง เป็นเรื่องราวของสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ

ศูนย์รับสร้างบ้านพีดีเฮ้าส์
เราสร้างบ้านเพื่ออนาคต

Line