หน้าแรก / สาระน่ารู้ / รักษ์พลังงาน รักษ์โลก
รักษ์พลังงาน รักษ์โลก
หน้าแรก / รักษ์พลังงาน รักษ์โลก

Green Packaging

Line

Green Packaging

Line
ปัจจุบันประชากรชาวไทยทิ้งขยะประเภทบรรจุภัณฑ์ปีละ 4,500 ,000 ตัน คิดเป็น 31% ของขยะมูลฝอยทั้งหมด และมีเพียง 19% ของขยะเท่านั้นที่ถูกนำไปรีไซเคิล ผลจากวิถีชีวิตที่เร่งรีบของผู้บริโภคทำให้บรรจุภัณฑ์ประเภทพลาสติกและโฟมเข้ามาตอบโจทย์ รวมถึงภาระต้นทุนที่ถูกกว่าการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ผ่านกระบวนการรีไซเคิล

จนกระทั่งในทวีปยุโรปและเอเชียเริ่มให้ความสนใจกับการหันมาใช้บรรจุภัณฑ์ทาเลือกใหม่มากขึ้น รวมทั้งแคมแปญรณรงค์การใช้ถึงผ้าแทนถุงพลาสติกเริ่มกลายเป็นMuse (สิ่งที่เป็นตัวแทนหรือแรงบรรดาลใจ) ให้กับวัฒนธรรมการใช้ Green Packaging ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นบรรจุภัณฑ์รีไซเคิล หรือทำมาจากวัสดุที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติอย่าง Biodegradable ซึ่งเทคโนโลยีในการผลิตทำให้บรรจุภัณฑ์เหล่านี้มีคุณสมบัติ รูปลักษณ์แทบไม่แตกต่างจากพลาสติกหรือโฟม

ทิศทางของ Green Packaging ในไทยเริ่มมีนวัตกรรมสีเขียวออกสู่ตลาดใยช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นบรรจุภัณฑ์จากธรรมชาติ (เยื่อกระดาษชานอ้อย) ภายใต้แบรนด์ “BIO” มีให้เลือกมากมายกว่า 70 แบบ ทั้งจาน ชาม ถาด ถ้วยน้ำ และกล่องมีฝาปิด สามารถใช้ได้กับอาหารทั้งร้อนและเย็น อีกทั้งขึ้นรูปได้ตามต้องการ

จากตัวเลขการใช้ภาชนะโฟมของคนไทยกว่า 2 หมื่นล้านชิ้นต่อปี ทำให้ผลิตภัณฑ์จาก Bio กลายเป็นทางเลือกที่จุดกระแสให้สังคมหันมาสนใจถึงความปลอดภัยของ Green Packaging กันมากขึ้น แม้ว่ากำลังการผลิตของบรรจุภัณฑ์ชานอ้อยจะอยู่ที่ 200 ล้านชิ้นต่อปีเท่านั้น

เมื่อหันมามองยักษ์ใหญ่แห่งวงการ Packaging อย่าง “เต็ดตรา แพ้ค” ได้เน้นพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีการผลิตและบรรจุภัณฑ์แบบปลอดเชื้อ (Aseptic Technology) เพื่อปกป้องอาหารและเครื่องดื่มที่อยู่ภายในขณะเดียวกันทุกกระบวนการผลิตยังต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้วยการใช้ทรัพยากรทดแทนได้ (Renewable) การลดการใช้พลังงานและการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Reducing) และสามารถนำกลับไปรีไซเคิลได้ (Recycle) โดยทุกๆ อย่างตั้งอยู่บนรากฐานของความรับผิดชอบ (Responsibly)

เต็ดตรา แพ้ค ได้บรรลุข้อตกลงร่วมกับ “บราสเคม เอสเอ” (Braskem SA) ซึ่งเป็นบริษัทปิโตรเคมีรายใหญ่ที่สุดของบราซิล เพื่อจัดซื้อโพลีเอทิลีนความหนาแน่นสูง (High-density Polyethylene: HDPE) อันผลิตจากวัตถุดิบที่เป็นทรัพยากรทดแทนได้ โดยจะจัดซื้อในปริมาณจำกัดไปก่อนในช่วงทดลองใช้ ข้อตกลงนี้แสดงให้เห็นถึงการริเริ่มนำโพลิเอทิลีนเพื่อสิ่งแวดล้อมมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตบรรจุภัณฑ์กล่องเครื่องดื่ม
 
คาดว่า โรงงานผลิตโพลีเอทิลีนเพื่อสิ่งแวดล้อมเชิงพาณิชย์แห่งแรกของโลก ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนใต้ของบราซิล จะสามารถเริ่มดำเนินการได้ภายในปลายปีนี้ และวางแผนจัดส่งให้กับเต็ดตรา แพ้ค ได้ช่วงต้นปี พ.ศ.2554

โดยโรงงานใหม่นี้จะนำเอาเอทานอล (Ethanol) จากต้นอ้อยมาใช้ผลิตเอทิลีน (Ethylene) และแปรรูปเป็นโพลีเอทิลีน (Polyethylene) ซึ่งเป็นพลาสติกที่นิยมใช้กันมากที่สุดในโลก มีการคาดว่ากระบวนการผลิตพลาสติกเพื่อสิ่งแวดล้อมนี้ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ เมื่อเทียบกับกระบวนการผลิตโพลีเอทิลีนแบบเดิมที่ใช้กันมานาน

ภายใต้เงื่อนไขนี้ของข้อตกลงดังกล่าว บราสแคมจะเริ่มผลิตโพลิเอทิลีนความหนาแน่นสูงเพื่อสิ่งแวดล้อม (Green HDPE) ให้กับเต็ดตรา แพ้ค เป็นจำนวน 5,000 ตันต่อปี นับตั้งแต่ 2554 เป็นต้นไป เพื่อนำไปใช้ในการผลิตฝาปิดพลาสติกกล่องเครื่องดื่ม ปริมาณดังกล่าวคิดเป็น 5% ของความต้องการใช้โพลีเอทิลีนทั้งหมดของเต็ดตรา แพ้ค ได้ร่วมลงนานเข้าร่วมโครงการผู้กอบกู้สภาวะภูมิอากาศ (The climate Savers Program) ของ WWF โดยเป็นหนึ่งใน 12 บริษัทระดับโลก ที่ตั้งเป้าจะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศลง 10% ภายในปี 2553

ปรากฎว่าธุรกิจเดินหน้าลดไปได้ถึง 12% ภายในปี 2551 อันเนื่องมาดจากการปรับปรุงการใช้พลังงานในโรงงานทั่วโลกให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมถึงการเปลี่ยนไปใช้พลังงานทดแทนได้ เช่น แสงอาทิตย์ ลม เป็นต้น ทั้งนี้ พลังงานที่ใช้ในโรงงานในปี 2551 มีระดับเดียวกันในปี 2545 แม้จะมีอัตราการผลิตเพิ่มขึ้นถึง 32%

แม้ว่าการกระจายการผลิตในลักษณะนี้ออกสู่ตลาดจะเป็นเรื่องท่ต้องอาศัยระยะเวลา เพราะต้นทุนของ Green Packagingนั้นค่อนข้างสูงกว่าบรรจุภัณฑ์แบบเดิม อย่างไรก็ตาม ดีมานต์ของ Green Packaging ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา กลับเพิ่มขึ้น เฉลี่ยปีละ 30โดยอุตสาหกรรมอาหารถือเป็นตัวกระตุ้นหลักจากภาคธุรกิจ ผลักดันให้ Green Packaging เติบโตมาอย่างต่อเนื่อง เพราะนอกจากจะมีความปลอดภัยมากกว่าการใช้โฟมและช่วยลดการเกิดขยะที่ย่อยสลายยากแล้ว Green Packaging ยังมีส่วนส่งเสริมภาพลักษณ์และคุณค่าของผลิตภัณฑ์มากขึ้นอีกด้วย

เรื่องโดย บุญฑริกา สิริโภคาศัย
จากหนังสือ BrandAge ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 กุมภาพันธ์ 2553 GREEN BRAND EFFECT
ศูนย์รับสร้างบ้านพีดีเฮ้าส์
เราสร้างบ้านเพื่ออนาคต

Line