หน้าแรก / สาระน่ารู้ / รักษ์พลังงาน รักษ์โลก
รักษ์พลังงาน รักษ์โลก
หน้าแรก / รักษ์พลังงาน รักษ์โลก

จับกระแสโลกร้อนใส่อาหาร

Line

จับกระแสโลกร้อนใส่อาหาร

Line
ทิศทาง Food Industry    

หลังวิกฤตเมลามีน โลกทั้งโลก ตกอยู่ในภวังค์ และสิ่งที่ตามมาก็คือ การมองหาอาหารที่ได้รับการรับรองมาตราฐานอาหารปลอดภัยหรือ Food Safety จนทำให้ Food Safety กลายเป็นเรื่องที่ขาดไม่ได้สำหรับสินค้าประเภทอาหารทุกแบรนด์จะต้องมี ส่วนแนวโน้มที่มาแรงตีคู่กันมาอีกอย่างก็คือ เรื่องของ Global Warming ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคทั่วโลกกำลังให้ความสใจ เพราะสิ่งแวดล้อมกลายเป็นปัญหาใหญ่ของโลกที่สมาชิกที่อาศัยอยู่บนโลกใบนี้ ต้องให้ความใส่ใจในการดูแลร่วมกัน
 
การให้ความสำคัญกับเรื่องสิ่งแวดล้อม เป็นเสมือนตัวบีบให้ผู้จัดจำหน่าย หรือร้านค้าปลีกต้องใส่ใจตามไปด้วย และผลที่ตามมาก็คือ ผู้ผลิตเองต้องให้ความสำคัญเช่นกัน สินค้าที่ส่งไปขายจึงไม่ใช่แค่มีเรื่องของ Food Safety ซึ่งเป็นเรื่องที่ถูกรีมายด์แล้วว่าต้องมี แต่ต้องพ่วงเอาเรื่องของกรไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมเข้ามาเป็นองค์ประกอบสำคัญอันหนึ่งแบบขาดไม่ได้คุณอนุรัตน์ โค้วคาลัย ประธานกรรมการบริหาร บริษัท พรานทะเลมาร์เก็ตติ้ง จำกัด และที่ปรึกษาของกระทรวงพาณิชย์ แสดงทรรศนะถึงเรื่องนี้ว่า Global Warming เป็นกระแสที่กำลังมาแรง ชาติใหญ่ๆ ที่เป็นลูกค้าสินค้าประเภทอาหารของบ้านเรา ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น ยุโรป หรืออเมริกา ต่างก็เลือกสินค้าที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมแทบทั้งสิ้น โดยจะดูว่าสินค้าแต่ละตัวที่วางขายนั้นมีอะไรเกี่ยวข้องกับการทำลายสิ่งแวดล้อมหรือไม่ และมีการเข้ามาตรวจดูตั้งแต่ต้นทางของกระบวนการผลิตว่า มีการทำลายสิ่งแวดล้อมหรือไม่ อย่างอาหารทะเล เขาจะดูตั้งแต่การออกเรือหาปลาว่า ใช้อวนหรือตาข่ายที่ผิดจากข้อกำหนดหรือเปล่า การเลี้ยงกุ้ง มีการทำลายป่าชายเลนหรือไม่อย่างไร สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ ส่วนหนึ่งมากจากการเข้ามาบทบาทของบรรดาเอ็นจีโอ ที่มองเรื่องของสิ่งแวดล้อมเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องเร่งให้ความร่วมมือในการดูแลเอาใจใส่

การเกิดปรากฎการณ์ดังกล่าว กลายเป็นหัวข้อสำคัญที่ทำให้ผู้ผลิตชาวไทย ต้องหันมามองถึงการเป็นหนึ่งในผู้ผลิตที่ให้ความสำคัญกับเรื่องของสิ่งแวดล้อม ที่ไม่เพียงแค่การทำกิจกรรมด้านซีเอสอาร์ แต่มองถึงกระบวนการผลิตทั้งกระบวนการ ทำให้ผู้ผลิตและเจ้าของแบรนด์สินค้าในหมวดอาหารแต่ละราย เริ่มมีการลงมือทำกันอย่างจริงจัง โดยเริ่มจากในเรื่องชองการลดคาร์บอนยูนิตในการผลิต

“ฉลากคาร์บอน” ถูกนำเข้ามาป็นส่วนหนึ่งในการสร้างกระแสการใส่ใจในเรื่องของสิ่งแวดล้อมของผู้ผลิตชาวไทยโดยมีผู้ประกอบการนำร่องที่ได้รับการติดฉลาก Carbon Footprint จากองค์กรการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกแห่งประเทศไทย (TGO) 25 ราย ส่วนใหญ่อยู่ในอุตสาหกรรมอาหาร และเครื่องดื่ม ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมทีเกี่ยวข้องกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกถึง 1 ใน 3 ประเทศไทยที่ถือเป็นผู้ผลิตอันดับต้นๆ ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มของโลก จึงต้องให้ความสำคัญในเรื่องของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และตัวฉลากคาร์บอนนี้ จะเป็นเครื่องมือสำคัญที่แสดงถึงการรับผิดชอบต่อสังคมโลกที่ดีของไทย

ในรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของ “ฉลากคาร์บอน” (Carbon Label) นั้น ถือเป็นสัญลักษณ์ที่นำไปติดบนสินค้าเพื่อให้ผู้บริโภครับรู้ว่า สินค้าที่ติดฉลาก มาจากกระบวนการผลิตที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

สินค้าที่จะผ่านเกณฑ์จนได้รับการติดฉลากนั้นผ่านการประเมิณใน 2 ประเภทด้วยกันคือ การประเมิณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งวงจรการผลิต (Life cycle Assessment: LCA) ซึ่งจะประเมิณตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบ การขนส่ง การผลิต การบรรจุภัณฑ์ และการใช้งานจนถึงการกำจัดของเสียที่เกิดขึ้น

ส่วนอีกประเภทก็คือ การประเมิณจากปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต(Production Stage) เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกซื้อสินค้าที่ช่วยลดภาวะโลกร้อนให้แก่ผู้บริโภค

สินค้าหลายๆ ตัวที่มีการผลิตโดยใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ เริ่มมีการนำเรื่องฉลากคาร์บอน เข้ามาเป็นจุดขายสำคัญในฐานของการเป็นสินค้าที่ผ่านกระบวนการผลิตที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

“ฉลากคาร์บอน” น่าจะเป็นสิ่งแรกที่ผู้ผลิตใช้เป็นหัวข้อในการ Educate ผู้บริโภคชาวไทยให้ Concern ถึงเรื่องสิ่งแวดล้อม ขณะที่การใช้วัสดุทดแทนจากธรรมชาติ เข้ามาแทนที่ วัตถุกดิบที่ก่อให้เกิดปัญหามลภาวะ จะกลายเป็นอีกหัวข้อสำคัญที่ถูกพูดถึงกันมกาขึ้น

“พรานทะเล มีการจ้างบริษัทที่ปรึกษาเข้ามาช่วยในการวางระบบการผลิต เพื่อให้สามารถลดคาร์บอนยูนิตในขั้นตอนการผลิต โดยจะใช้เวลาจัดระเบียบในเรื่องที่ว่านั้น 3 เดือน หลังจากนั้น จะเริ่มกระบวนการในเรื่องของการลดคาร์บอนยูนิตจากการผลิตได้รางกลางปีเป็นต้นไป ในฐานะที่กลุ่มยูเนียนโฟว์เซ่นโปรดักส์ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของพรานทะเล เป็นผู้ผลิตอาหารแช่เเข็งรายใหญ่ที่มีการส่งออกไปยังหลายตลาดทั่วโลก จำเป็นต้องมองถึงเทรนด์ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว และหยิบเอาเป็นส่วนหนึ่งของสินค้า ซึ่งเรามองว่า ในเรื่องของอาหารนั้น ไม่ใช่แค่เรื่องสุขภาพ หรืออาหารปลอดภัย แต่ต้องมีเรื่องของสิ่งแวดล้อมด้วย”

Global Warming กำลังเป็นกระแสที่มาแรงมากๆ โดยเฉพาะกับในโลกตะวันตก ที่ผู้บริโภคจะเลือกซื้อแต่สินค้าที่มีการทำในเรื่องดังกล่าว และผลักดันให้ร้านค้าปลีกต้องเลือกสรรแต่สินค้าที่ไม่ทำลายธรรมชาติเข้ามาวางขาย แรงพลักดันดังกล่าว ทำให้เจ้าของแบรนด์สินค้ารายใหญ่ๆ ของโลก เริ่มหันมาทำในเรื่องดังกล่าวนี้มากขึ้น คุณอนุรัตน์ ยกตัวอย่างถึงเชนสินค้าปลีกยักษ์ใหญ่ของโลกอย่างวอลมาร์ท ให้เห็นว่า เชนค้าปลีกรายนี้ เริ่มมีการกำหมดมาตราฐาน ACC ขึ้นมา และให้ด่วกับสินค้าแต่ละที่มีการทำเรื่องนี้ โดยจะมีการเข้ามาตรวจสอบกระบวนการผลิตตั้งแต่ต้นทางคือฟาร์ม จนถึงสินค้าออกสู่ตลาดและวางบนเชลฟ์สินค้าของตัวเอง

“ก่อนหน้านั้น เขาจะแค่มาตรวจที่โรงงานว่ามีมาตราฐานตามที่ตั้งไว้ไหม โดยเฉพาะในเรื่องของมาตราฐานอาหารปลอดภัย แต่ในปัจจุบันเขาเริ่มมาดูลึกลงไปว่าในแต่ละขั้นตอนของการผลิตมีการทำลายสิ่งแวดล้อมด้วยหรือเปล่า ตรงนี้เป็นแนวโน้มที่เห็นได้ชัดเจนมากขึ้น ทำให้ผู้ผลิตต้องหันมาให้ความสำคัญทั้งการปฏิบัติในเรื่องของการผลิตและการทำการตลาด ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของGreen Concept โดยเขาจะดูว่า ผู้ผลิตรายนั้นๆ ใส่ใจในกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหรือไม่อย่างไร ไม่เพียงเท่านั้น การทำการตลาดในเชิงชองการใส่ใจในสิ่งแวดล้อมก็มีส่วนที่เข้ามาช่วยให้สินค้าที่ผลิตและส่งออกไปจำหน่ายเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค”

แม้กระแสในเรื่องของ Global Warming ที่เกิดขึ้นนี้ยังก่อตัวขึ้นไม่เต็มรูปเต็มร่างนักในบ้านเรา ขณะที่ผู้บริโภคชาวไทยเอง ยงัให้ความสำคัญกับเรื่องของ Global Warming ไม่มากเท่ากับประเทศตะวันตก แต่ผู้ผลิตและเจ้าของสินค้าแบรนด์ดังทั้งที่เป็นของคนไทยเอง และที่เป็นแบรนด์นะดับโลกต่างก็หันมาให้ความสำคัญและกระตุ้นให้เกิดการตระหนักถึงเรื่องดังกล่าวอย่าเต็มที่ อย่างในกรณีของ โค้ก ที่เริ่มเข้ามาทำในเรื่องที่ว่านี้ ด้วยการนำตู้แช่ที่มีการใช้พลังงานไฟฟ้าไม่มากนักเข้ามาใช้กับร้านค้าของตัวเองเพื่อร่วมเป็นหนึ่งในการช่วยลดปัญหาโลกร้อน

“ผู้ผลิตเอง คงต้องให้ความสำคัญกับเรื่องที่กำลังเป็นกระแสของโลกอย่างเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้น 
ที่เห็นในปัจจุบัน ก็เริ่มมีผู้ผลิตรายใหญ่ๆ หันมาให้ความสมใจและลงมือปฏิบัติ และมองเรื่องดังกล่าวแบบทั้งกระบวนการผลิตมากกว่าแค่การจัดกิจกรรมอย่างในเรื่องของการลดคาร์บอนยูนิตซึ่งเป็นเรื่องที่หลายรายกำลังทำ สิ่งสำคัญที่ลูกค้าในประเทศที่เขาใส่ใจในเรื่องของสิ่งแวดล้อมจะดูนั้น เขาจะดูตั้งแต่การผลิตที่ถูกกฏหมายหรือไม่ มีการใช้แรงงานเด็กไหม หรือทำอะไรที่ผิดกฎข้อบังคับ ที่เขาจะดูตามมาก็คือ ในเรื่องของสิ่งแวดล้อม ใช้วัตถุดิบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไล่ตั้งแต่ตัวแพ็กเกจจิ้งไปจนถุงเนื้อในของผลิตภัณฑ์”

สิ่งที่น่าจะยังคงเป็นปัญหาสำหรับการทำตลาดโดยนำเรื่องของสิ่งแวดล้อมเข้ามาเป็นหัวใจสำคัญอย่างหนึ่งก็คือ ต้นทุนในการผลิตที่เพิ่มขึ้น ยกตัวอย่างของการใช้แพ็กเกจจิ้งที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม จะมีต้นทุนสูงกว่าแพ็กเกจจิ้งแบบปกติราว 10-20% ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นนี้ผู้บริโภคจะยอมรับได้หรือไม่ ซึ่งคุณ อนุรัตน์มองว่าการนำเรื่องของสิ่งแวดล้อมเข้ามาเป็นส่วนผสมหนึ่งในกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมอาหาร ต้องเป็นความร่วมมือกันของผู้ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรม ไล่ตั้งแต่คนผลิตวัตถุดิบที่ป้อนเข้าสู่กระบวนการผลิต ผู้ผลิตแพ้กเกจจิ้งเอง หรือแม้แต่ตัวร้านค้าที่ต้องเข้ามามีส่วนร่วมแบบทั้งกระบวนการ หรือแม้แต่ตัวร้านค้าที่ต้องเข้ามามีส่วนร่วมแบบทั้งกระบวนการ ไม่ใช่แค่ตัวโปรดักซ์เพียงอย่างเดียว

เพราะการขยับตัวเพื่อก้าวสู่การเป็น Green Company จะกลายเป็นหัวใจของการทำธุรกิจในยุคใหม่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้


เรื่องโดย สมบุญ รุจิขจร
จากหนังสือ BrandAge ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 กุมภาพันธ์ 2553 GREEN BRAND EFFECT
ศูนย์รับสร้างบ้านพีดีเฮ้าส์
เราสร้างบ้านเพื่ออนาคต

Line