หน้าแรก / สาระน่ารู้ / เกร็ดความรู้
เกร็ดความรู้
หน้าแรก / เกร็ดความรู้

กำหนดรูปแบบบ้าน ด้วยรูปแบบชีวิต

Line

กำหนดรูปแบบบ้าน ด้วยรูปแบบชีวิต

Line
ในการออกแบบบ้านไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใด สไตล์ใด หรือออกแบบมาแล้วจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร ผู้เขียนคิดว่าหัวใจสำคัญอยู่ที่ความรู้สึกเมื่อได้อยู่อาศัย และ “ความสุข” ที่จะได้รับ ดังนั้นรูปแบบบ้านถูกพัฒนาขึ้นมาจากความต้องการของผู้อยู่อาศัยเป็นหลัก หน้าตาบ้านและพื้นที่ใช้สอยจะถูกปรับเปลี่ยนไปตามโจทย์จากเจ้าของบ้านและลักษณะของพื้นที่ที่แตกต่างกันหากเจ้าของบ้านมีความต้องการหลายข้อโจทย์ก็จะยากไม่ว่าอย่างไรหากเจ้าของบ้านสามารถถ่ายทอดออกมาให้เห็นภาพของกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นได้ครบถ้วนก็จะถือเป็นเป็นความโชคดีอย่างยิ่งของสถาปนิกไป แต่หากเจ้าของบ้านเป็นคนพูดน้อย ขี้อาย ผู้ออกแบบก็ต้องพยายามค้นหารูปแบบของบ้านที่ใช่และตรงกับการใช้ชีวิตของเขาให้ได้ด้วยตัวเอง

แบบบ้าน W-112 สองชั้นหลังนี้ทีมผู้พัฒนาได้อาศัยโจทย์จากเจ้าของบ้านที่ต้องการบ้านขนาดเล็กมีห้องนอนเพียง 3 ห้อง จอดรถได้ 1 คัน พื้นที่ใช้สอยไม่เกิน 150 ตารางเมตร และเหมาะกับที่ดินขนาดไม่เกิน 50 ตารางวา โดยผู้อยู่อาศัยเป็นครอบครัวขนาดเล็ก ไม่มีผู้สูงอายุ มีเพียงลูก ๆ วัยใส 1-2 คน และใช้เวลาส่วนใหญ่ของชีวิตไปกับการทำงานนอกบ้าน ดังนั้นเมื่อมีวันหยุดพักผ่อนตรงกันครอบครัวก็จะใช้พื้นที่ชั้นล่างในการทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น ทานข้าวด้วยกันบ่อยมาก
เพราะคุณแม่ชอบทำครัว คุณพ่อก็จะเสียเวลาส่วนใหญ่ไปกับสวนสวยภายนอกบ้าน ลูก ๆ พักผ่อน ดูหนัง-ฟังเพลง ทุก ๆ กิจกรรมเกิดขึ้นพร้อม ๆ กันแม้พื้นที่ที่อาจจะไม่ได้กว้างขวางมากนัก พอเวลาพลบค่ำก่อนจะแยกย้ายเข้านอนก็อยากให้มีพื้นที่ส่วนกลางเล็ก ๆ สำหรับดูหนัง ดูละคร อ่านหนังสือ เล่นเกมส์ หรือแม้แต่พูดคุยกันก่อนเข้านอน เพื่อทำให้ทุกคนสัมผัสได้ถึงความอบอุ่นของครอบครัวทั้งหมดนี้จะเห็นได้ว่าเป็นการออกแบบโดยมองไปที่ "การใช้ชีวิตจริง" พื้นที่ใช้สอยภายในก็ต้องใช้ได้จริงและใช้ได้ดีด้วย



 
จากประสบการณ์เจ้าของบ้านที่คุ้นเคยกับการใช้ชีวิตในบ้านสมัยก่อนที่เป็นครึ่งอิฐครึ่งไม้ จะมีความรู้สึกผูกพันหลงใหลกับสไตล์บ้านแบบเก่า ชื่นชอบบ้านที่มีหลังคาโดยรอบ ดูแลง่าย และให้อารมณ์ร่วมสมัยทันยุค และให้ความรู้สึกปลอดภัย นอกจากสัมผัสได้ถึงความน่าอยู่ รับรู้ได้ถึงความอบอุ่น
เมื่อเข้าอยู่แล้วเจ้าของบ้านก็ยังต้องสัมผัสได้ถึงความ “อยู่สบาย” อีกด้วย สถาปนิกผู้ออกแบบต้องทำความเข้าใจในวิถีชีวิตประจำวันของแต่ละบ้าน แต่ละครอบครัวเพื่อนำมาแปลความหมายให้กลายเป็นพื้นที่ใช้สอยที่สามารถใช้งานได้ดี และใช้ได้งานได้ทุกพื้นที่ ตรงกับโจทย์ที่ได้รับและตรงกับใจของเจ้าของบ้านมากที่สุด เพื่อจะนำไปสู่งานออกแบบที่ดี และบ้านที่ใช้งานได้ดีนั่นเอง

 
ทีมผู้พัฒนาแบบได้เริ่มต้นปรับแบบแก้ไขแบบกันบนกระดาษ ซึ่งเป็นวิธีการพื้นฐานและดีที่สุดในการเริ่มปล่อยแนวความคิด สถาปนิกปรับแก้แบบหลายครั้งจนกว่าเป็นที่พอใจจึงค่อยนำไปสู่กระบวนการจำลองภาพ 3 มิติ ซึ่งจะทำให้เจ้าของบ้านเห็นภาพ เข้าใจความต้องการของตัวเองมากขึ้น และเข้าใจงานออกแบบมากยิ่งขึ้นด้วยเช่นกันเพราะเจ้าของบ้านจะไม่เพียงเห็นภาพจำลองแบบบ้านเพียงมุมใดมุมหนึ่งเท่านั้นแต่จะสามารถหมุนรอบทิศเพื่อบ้านดูได้ทั้งหลัง สัมผัส รับรู้ในทุกมิติได้ดียิ่งขึ้นและไม่ต้องลุ้นว่าสร้างเสร็จแล้วจะสวยตรงใจหรือไม่ แตกต่างกับสมัยก่อนที่จะเห็นเพียงภาพ 2มิติ ในกระดาษจากแบบก่อสร้างของสถาปนิกเขียนให้เท่านั้น
ศูนย์รับสร้างบ้านพีดีเฮ้าส์
เราสร้างบ้านเพื่ออนาคต

Line