งานโครงหลังคา
ข่าวและสาระน่ารู้ / ขั้นตอนการก่อสร้าง

“เหล็ก” กลายเป็นวัสดุที่ได้รับความนิยมจากวิศวกรผู้ออกแบบ สำหรับการเลือกนำมาใช้เป็นวัสดุโครงหลังคา เพื่อรับน้ำหนักหรือรองรับวัสดุมุงหลังคา โดยชนิดของเหล็กที่นิยมนำมาใช้กันในปัจุบัน ได้แก่ 1.เหล็กรูปพรรณ และ 2.เหล็กแผ่นรีดเย็นเคลือบสารป้องกันสนิม (เหล็กรับแรงดึงสูง) โดยเฉพาะเหล็กแผ่นรีดเย็นเคลือบสารป้องกันสนิมนั้น ในปัจจุบันได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น ด้วยเหตุผลเพราะ

• น้ำหนักเบาแต่รับแรงได้สูงกว่า
• เคลือบสารป้องกันสนิมมาตั้งแต่กระบวนการผลิตในโรงงานมาแล้ว
(เคลือบด้วย Galvanize หรือ Aluzinc) โดยไม่ต้องมาทาสีกันสนิมขณะทำการก่อสร้างอีก
(เคลือบด้วย Galvanize หรือ Aluzinc) โดยไม่ต้องมาทาสีกันสนิมขณะทำการก่อสร้างอีก
• โครงหลังคา ออกแบบด้วยซอฟแวร์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์โดยผู้ผลิต จึงมีความแม่นยำและ
ตัดชิ้นงานมาจากโรงงานตามขนาดและจำนวนที่ใช้งานจริง ทำให้ลดเศษวัสดุเหลือใช้งาน
ตัดชิ้นงานมาจากโรงงานตามขนาดและจำนวนที่ใช้งานจริง ทำให้ลดเศษวัสดุเหลือใช้งาน
• ลดขั้นตอนการก่อสร้างหรือติดตั้งได้รวดเร็วกว่า
• มีผู้ผลิตและให้บริการให้เลือกจำนวนมาก เช่น ระบบหลังคา SCG, SMART TRUSS, ธนาคูณ,
MASS TRUSS ฯลฯ เป็นต้น
MASS TRUSS ฯลฯ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม มีสิ่งที่ควรตรวจสอบมาตรฐานการติดตั้งโครงหลังคา เพื่อให้แน่ใจว่าก่อนเริ่มงานและเมื่องานเสร็จแล้วเป็นไปตามที่วิศวกรผู้ออกแบบกำหนดไว้ และถูกต้องตรงตามรูปทรงทางสถาปัตยกรรม เช่น ระดับคานหลังคา แนวคาน ตำแหน่งวาง truss ตามแบบแปลน ฯลฯ
ตรวจสอบการประกอบโครงหลังคา
• การประกอบโครง truss ตรงตามแบบแปลน ไม่มีชิ้นส่วนเหลือ สกรูครบ 3 ตัว/จุด การติด plate ตามข้อกำหนดของผู้ผลิต
• ตรวจสอบระยะห่างของ truss แต่ละตัวตามแบบแปลนติดตั้ง (เนื่องจากหลังคาแต่ละทรงและชนิดกระเบื้องจะมีระยะห่างไม่เท่ากัน)
• ตรวจสอบระยะห่างของแป ว่าสอดคล้องกับกระเบื้องหลังคาหรือไม่ เช่น กระเบื้องซีแพคโมเนีย ระยะห่างคือ 32-34 ซม.
กระเบื้องนิวสไตล์ระยะห่างแป 27-29 ซม.
• ตรวจสอบระยะต่อแป กรณี กระเบื้องหลังคาซีแพคโมเนีย ใช้วิธีการต่อทาบมีระยะซ้อนทับ 20 ซม. ยึดสกรูด้านละ 4 ตัว
กรณี กระเบื้องหลังคานิวสไตล์ หรือกระเบื้องหลังคาชนิดแผ่นเรียบ ให้ใช้วิธีต่อชน แล้วนำแปยาว 30 ซม. มาซ้อนด้านล่าง
แล้วยึดสกรูด้านละ 4 ตัว


งานติดตั้งไม้เชิงชาย
สำหรับการติดตั้งไม้เชิงชาย ควรใช้วิธีตั้งนั่งร้านเพื่อทำงาน มิควรปล่อยให้ช่างปีนขึ้นไปอยู่บนโครงหลังคาและทำการติดตั้งไม้เชิงชาย เพราะจะทำให้โครงหลังคาเหล็กบิดเบี้ยวหรือเสียรูป จากน้ำหนักของช่างที่ขึ้นไป
ข้อแนะนำ
• ก่อนติดตั้งให้ตรวจสอบลักษณะการติดตั้งจากแบบแปลน
ว่าเป็นแบบดิ่งหรือฉากกับจันทัน
• ตรวจสอบระยะยื่นชายคาจากเสาถึงไม้เชิงชาย
ตามแบบแปลน
• การยึดสกรูให้เป็นคู่ บน/ล่าง ระยะห่างไม่เกิน 40 ซม.
ส่งหัวสกรูลึก 2 มม.
• กรณีไม้เชิงชายด้านใดที่มีความยาว และต้องมี
การต่อแผ่นความยาวของแผ่นที่นำมาต่อกันไม่ควร
น้อยกว่า 1.00 เมตร (เพื่อความสวยงาม)
• การต่อแผ่นไม้เชิงชาย ควรต่อในลักษณะบากมุม 45 องศาและบริเวณรอยต่อให้เก็บแต่งด้วย Lanko เบอร์ 603
• ระดับหลังไม้เชิงชายต้องสูงกว่าหลังแป 2.5 ซม. เพื่อรับกระเบื้องแผ่นสุดท้าย
ข้อแนะนำ
• ก่อนติดตั้งให้ตรวจสอบลักษณะการติดตั้งจากแบบแปลน
ว่าเป็นแบบดิ่งหรือฉากกับจันทัน
• ตรวจสอบระยะยื่นชายคาจากเสาถึงไม้เชิงชาย
ตามแบบแปลน
• การยึดสกรูให้เป็นคู่ บน/ล่าง ระยะห่างไม่เกิน 40 ซม.
ส่งหัวสกรูลึก 2 มม.
• กรณีไม้เชิงชายด้านใดที่มีความยาว และต้องมี
การต่อแผ่นความยาวของแผ่นที่นำมาต่อกันไม่ควร
น้อยกว่า 1.00 เมตร (เพื่อความสวยงาม)
• การต่อแผ่นไม้เชิงชาย ควรต่อในลักษณะบากมุม 45 องศาและบริเวณรอยต่อให้เก็บแต่งด้วย Lanko เบอร์ 603
• ระดับหลังไม้เชิงชายต้องสูงกว่าหลังแป 2.5 ซม. เพื่อรับกระเบื้องแผ่นสุดท้าย
ด้วยความปรารถนาดีจาก ศูนย์รับสร้างบ้านพีดีเฮ้าส์