ลงทะเบียนรับสิทธิพิเศษ
  • ลงทะเบียนรับสิทธิพิเศษ
ข่าวอสังหาริมทรัพย์
Line
11 ม.ค.2559

รัฐบาลระดม มาตรการคลัง กระตุ้นเศรษฐกิจ-เพิ่มขีดแข่งขัน

Line
หลังจากนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เข้ามา ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ ได้เร่งดำเนินนโยบายการกระตุ้น เศรษฐกิจและสร้างความเชื่อมั่นหลายมาตรการ "กรุงเทพธุรกิจ"เห็นว่านโยบายเหล่านี้น่าติดตามอย่างใกล้ชิด จึงรวบรวมมาตรการและนโยบายทั้งหมด ดังนี้

นโยบายการเงินการคลังแบ่งออกเป็น3 ด้าน คือ1.นโยบายและมาตรการเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจระยะเร่งด่วน 2.นโยบายและมาตรการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและวางรากฐานทางเศรษฐกิจของประเทศ และ 3.นโยบายและมาตรการเพื่อสร้างสังคมที่เป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำ

มาตรการแก้ปัญหาศก.เร่งด่วน3.52แสนล.

กระทรวงการคลังได้ดำเนินมาตรการ เพื่อรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจภายใต้ภาวะเศรษฐกิจที่เติบโตในระดับต่ำกว่าศักยภาพ โดย ให้ความสำคัญและดูแลทั้งภาคประชาชนและ ธุรกิจเอกชนตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ ทั้งนี้เงินที่ใช้สำหรับสนับสนุนมาตรการ มีวงเงินรวมประมาณ 3.52 แสนล้านบาท

1.มาตรการสินเชื่อกองทุนหมู่บ้านวงเงิน 6 หมื่นล้านบาท

2.มาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับ ตำบลหรือลงทุนตำบลละ 5 ล้านบาท วงเงิน 3.6 หมื่นล้านบาท 3.มาตรการกระตุ้นการลงทุนขนาดเล็ก ของรัฐบาล วงเงินรวม 4 หมื่นล้านบาท

4.โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อเอสเอ็มอี (ซอฟท์โลน)วงเงิน 1 แสนล้านบาท 5.โครงการค้ำประกันสินเชื่อเอสเอ็มอีวงเงิน 1 แสนล้านบาท 6.มาตรสนับสนุนเอสเอ็มอีผ่านการร่วมลงทุนวงเงิน 6 พันล้านบาท 7.มาตรการสินเชื่อกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์วงเงิน 1 หมื่นล้านบาท

มาตรการภาษีส่งเริมลงการลงทุน

1.มาตรการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี โดยลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับผู้ประกอบการ เอสเอ็มอีเป็นเวลา 2 รอบบัญชีต่อเนื่องกัน สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 ม.ค.2558 จนถึงรอบเวลาบัญชีวันที่ 31 ธ.ค. 2559 โดยมีโครงสร้างอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล ดังนี้ กำไรสุทธิของเอสเอ็มอีตั้งแต่ 0-300,000 บาท ให้มีการยกเว้น กำไรสุทธิตั้งแต่ 300,001-3,000,000 บาท. เดิมเสียในอัตรา 15% ของกำไรสุทธิเป็น 10% ของกำไรสุทธิ และ 3,000,001 บาทขึ้นไป จากเดิม 20% ของกำไรสุทธิเป็น 10% ของกำไรสุทธิ

2.มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการรายใหม่(New Start-up) โดยยกเว้นภาษี เงินได้นิติบุคคลสำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ที่ประกอบกิจการที่จดทะเบียนพาณิชย์ระหว่าง วันที่ 19 ต.ค.2558 ถึง 31 ธ.ค.2559 เป็นระยะ เวลา 5 รอบบัญชีต่อเนื่องกัน โดยผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่จะได้สิทธิยกเว้นต้องมีคุณสมบัติ คือ เป็นผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเป้าหมายหลักที่มีศักยภาพขับเคลื่อนเศรษฐกิจเช่นกลุ่มสินค้าเกษตรแปรรูป เทคโนโลยีขั้นสูง ดิจิทัล และ การวิจัยพัฒนา,จะต้องจดแจ้งการขอใช้สิทธิกับกรมสรรพากร,ต้องไม่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน

3.การยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับบุคคล ธรรมดาสำหรับรายจ่ายที่จ่ายไปเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดินหรือห้องชุดในอาคารชุดที่มีมูลค่าไม่เกิน 3 ล้านบาท เพื่อใช้ เป็นที่อยู่อาศัยของตนเป็นจำนวน 20% ของมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ โดยผู้ได้รับสิทธิจะต้องไม่เคยมีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์มาก่อน และมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อเป็นเวลาไม่น้อยกว่า5ปี

4.มาตรการทางภาษีเพื่อสนับสนุนการ ลงทุนภาคเอกชน ประกอบด้วย 1.การปรับให้ภาษีนิติบุคคลอยู่ในอัตรา 20% เป็นการถาวร เพื่อสร้างความมั่นใจให้นักธุรกิจและนักลงทุน จากอัตรา 20% ซึ่งเป็นแบบชั่วคราวที่จะสิ้นสุด ภายในวันที่ 31 ธ.ค.2558 2.มาตรการภาษีเรื่อง ธุรกิจเงินร่วมทุน(Venture Capital) เพื่อ ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการที่มีนวัตรกรรมได้มีแหล่งเงินในการเริ่มต้นประกอบธุรกิจ โดยจะให้ สิทธิประโยชน์การงดเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 10 ปี และการยกเว้นภาษีเงินได้จากการ ปันผลของผู้ร่วมลงทุนในเวนเจอร์แคปปิตอล

5.มาตรการภาษีและค่าธรรมเนียมเพื่อ ส่งเสริมการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ผ่าน กองทุนทรัสต์เพื่อการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ (REIT) เพื่อส่งเสริมให้เกิดการแปลงสภาพจากกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เป็นกองทรัสต์ที่เป็นรูปแบบสากลและมีกฎหมายภายในประเทศรองรับโดยการโอนทรัพย์สินจากกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ไปยังกองทุนทรัสต์จะลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในการแปลงสภาพจากกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เป็นกอง RIET ลงเหลือ 0.01% สิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2560 และโอนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์รวมไปเป็นกองทรัสต์ของผู้ถือหน่วยลงทุนจะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้กรณีที่เปลี่ยนไปเป็นผู้ถือใบทรัสต์ ตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้มีผลบังคับใช้จนถึงวันที่ 31 ธ.ค.2560

6.มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนในประเทศ (หักรายจ่ายเพื่อการลงทุน ต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออกหรือทำให้ดีขึ้น ซึ่งทรัพย์สิน 2 เท่า เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นการลงทุนภาคเอกชนในประเทศ และเพิ่มขีดความสามารถแข่งขันของประเทศในระยะยาว 7.มาตรการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับรายจ่ายในการซื้อสินค้าและบริการ ในช่วงโดยซื้อสินค้าและบริการ ในช่วง 25-31 ธ.ค. 2558 สามารถนำรายจ่ายเท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท มาหักลดหย่อนภาษีได้ในปีภาษี 2558  โดยผู้ซื้อสินค้าและบริการ จะต้องซื้อสินค้าและบริการ จากผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เท่านั้น จึงจะสามารถนำรายจ่ายนั้นมาหักลดหย่อน ภาษีได้

นโยบายเพิ่มขีดแข่งขันประเทศ

นโยบายและมาตรการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและวางรากฐานทาง เศรษฐกิจของประเทศนั้น กระทรวงการคลัง เล็งเห็นความสำคัญของการเร่งรัดการลงทุนภายในประเทศ ทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อยกระดับศักยภาพในอนาคตผ่าน 1.มาตรการเร่งรัดโครงการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ หรือ PPP Fast Track  เพื่อจัดให้การจัดเตรียมและการนำเสนอโครงการ PPP ในเรื่องต่างๆมีความรวดเร็วมากขึ้นจากเดิมที่ผ่านมาใช้เวลาประมาณ 2 ปี จะเหลือเพียงประมาณ 9 เดือน

2.การสนับสนุน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายในการเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต

3.มาตรการส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางวิจัย พัฒนา หรือทดสอบสมรรถนะยานยนต์ต้นแบบ ในภูมิภาค

4.การจัดหาแหล่งทุนสำหรับโครงการ ลงทุนภายใต้แผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทยปี 2558-2565 วงเงิน 1.8 ล้านล้านบาท 5.จัดหาเงินกู้เพื่อการบริหารจัดการน้ำและถนนระยะเร่งด่วน(มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 2) วงเงิน 8 หมื่นล้านบาท

นโยบายสร้างความเป็นธรรม-ลดเหลื่อมล้ำ

กระทรวงการคลังได้ใช้เครื่องมือทางการเงินการคลังเพื่อปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคม และสร้างโอกาสที่เท่าเทียม ซึ่งมีมาตรการดังนี้

1.การจัดตั้งกองทุนการออมแห่งชาติ ปัจจุบันมีสมาชิกกองทุนแล้ว 3.7 แสนราย รวมยอดเงินสะสมสมาชิก 400 ล้านบาท

2.มาตรการสินเชื่อรายย่อยเพื่อประกอบอาชีพ(นาโนไฟแนนซ์) ปัจจุบันมีบริษัทให้บริการ 25 บริษัท มียอดเงินกู้ที่อนุมัติรวม 81 ล้านบาท

3.มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรและรักษาเสถียรภาพราคาข้าวปีการผลิต 2558/2559 ประกอบด้วย การลดดอกเบี้ยเงินกู้ให้เกษตรกร ผู้ปลูกข้าวจำนวน 3%ต่อปี เป็นระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน,โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกรวงเงินรวม 1.25 หมื่น ล้านบาท,โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีวงเงิน 2.67 หมื่นล้านบาท

4.การจัดทำพระราชบัญญัติทวงถามหนี้
 
ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
( วันที่ 11 มกราคม 2558 )