ลงทะเบียนรับสิทธิพิเศษ
  • ลงทะเบียนรับสิทธิพิเศษ
ข่าวอสังหาริมทรัพย์
Line
11 มี.ค.2559

ดันรถไฟความเร็วสูงกทม.-ระยอง เล็งจ้างกุนซือศึกษาโครงการ ‘คมนาคม’คาดลงตัวในปีนี้"

Line
 เมื่อวันที่ 10 มี.ค. 2559 นายธีระพงษ์ รอดประเสริฐ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงคมนาคม ได้เป็นประธานเปิดการสัมมนา

     เพื่อสร้างการรับรู้ข้อมูล ความเข้าใจ รับฟังความคิดเห็น และข้อเสนอแนะของประชาชน ครั้งที่ 6 ภายใต้โครงการสร้าง การรับรู้
ความเข้าใจ และรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อการพัฒนาโครงการก่อสร้างรถไฟขนาดทางมาตรฐาน ที่ จ.ระยอง
 
     นายธีระพงษ์กล่าวว่า แผนงานดำเนินการโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-ระยอง ขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนจ้างบริษัทที่ปรึกษาดำเนินการศึกษาความเหมาะสมและรูปแบบการลงทุนโครงการ คาดว่าผลการศึกษาจะแล้วเสร็จภายในปี 2559 โดยหากการพัฒนาโครงการก่อสร้างรถไฟขนาดทางมาตรฐาน ช่วงที่ 2 แก่งคอย-มาบตาพุด และโครงการก่อสร้างรถไฟความสูง สายกรุงเทพฯ-ระยอง แล้วเสร็จ จะช่วยเพิ่มศักยภาพในการเชื่อมต่อการเดินทางขนส่งและช่วยกระจายสินค้าระหว่างภาคกลาง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไปสู่พื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกที่ท่าเรือแหลมฉบังและท่าเรือมาบตาพุดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องตามแผนยุทธศาสตร์ของจังหวัด ที่ต้องการพัฒนาจังหวัดให้เป็นเมืองอุตสาหกรรม การค้าและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับภาคธุรกิจการท่องเที่ยว เพื่อให้ประชาชนชาวระยองมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
 
     สำหรับจังหวัดระยอง ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกมีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดชลบุรี จันทบุรี ตราด มีพื้นที่ติดกับชายฝั่งทะเลอ่าวไทย และอยู่ในแนวเส้นทางโครงการก่อสร้างรถไฟขนาดทางมาตรฐานที่รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการก่อสร้างรถไฟขนาดทางมาตรฐานตามกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของไทย ปี 2558- 2565 รวมถึงเป็นศูนย์กลางการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เช่น โรงงานผลิตปิโตรเคมี โรงงานชิ้นส่วนยานยนต์ เป็นต้น รวมทั้งเป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นเมืองอุตสาหกรรมใหม่ของประเทศไทย
 
     นายธีระพงษ์กล่าวอีกว่า ในการสัมมนาครั้งนี้มีการให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการ เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น และข้อเสนอแนะจาก
ทุกภาคส่วนเพื่อนำมารวบรวมและพัฒนาโครงการ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนในแนวเส้นทางโครงการก่อสร้างรถไฟขนาดทางมาตรฐานขนาด 1.435 เมตร (Standard Gauge) ซึ่งโครงการก่อสร้างรถไฟขนาดทางมาตรฐานดังกล่าว จะทำให้ประเทศไทยสามารถเชื่อมโยงระบบรางผ่านสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และเดินทางถึงสาธารณรัฐประชาชนจีนได้ และเพิ่มทางเลือกในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะผลิตผลทางการเกษตร เช่น ข้าว ยางพารา ผลไม้ มันสำปะหลัง เป็นต้น ที่ไทยจะส่งไปยังจีน ทวีปยุโรป และสหรัฐอเมริกาได้

ที่มา : โลกธุรกิจ วันที่ 11 มีนาคม 2559