หน้าแรก / สาระน่ารู้ / เกร็ดความรู้
เกร็ดความรู้
หน้าแรก / เกร็ดความรู้

7 วิธีป้องกัน “งูโผล่ชักโครก” และเข้าบ้านแบบได้ผลระยะยาว

Line

7 วิธีป้องกัน “งูโผล่ชักโครก” และเข้าบ้านแบบได้ผลระยะยาว

Line

เป็นข่าวครึกโครมกันอีกแล้วสำหรับกรณีงูเหลือมโผล่หัวออกมากัดอวัยวะเพศของเจ้าของบ้าน จนบาดเจ็บต้องเร่งนำตัวส่งโรงพยาบาล แต่ข่าวคราวเช่นนี้มีให้เห็นบ่อยครั้ง โดยเฉพาะระยะหลังมีข่าวแบบนี้ถี่ขึ้นเรื่อยๆ ขอนำเสนอวิธีจัดและดูแลบ้านเพื่อป้องกันการรบกวนของงูไปแล้วครั้งหนึ่ง แต่คราวนี้จะมาเพิ่มเรื่องการป้องกันงูที่ออกมาจากโถส้วม มาดูกันค่ะว่าต้องทำอย่างไรกันบ้าง

วิธีป้องกันไม่ให้งูโผล่ในชักโครก

1.ตรวจเช็คระบบท่อว่ามีการรั่วซึมหรือไม่ โดยเฉพาะบ้านเก่า เพราะงูอาจจะเลื้อยผ่านเข้ามาจากท่อระบายน้ำ หลุดเข้ามาที่บ่อเกรอะ แล้วผ่านไปยังท่อซึ่งเชื่อมเข้ากับคอห่าน

2.ติดตั้งตะแกรงกันงูตามท่อน้ำทิ้ง หลังตรวจเช็คระบบท่อระบายและระบบบ่อเกรอะแล้ว อาจให้ช่างติดตั้งตะแกรงกันงู

3.ปิดประตูห้องน้ำให้สนิท ป้องกันไม่ให้งูเข้าไปภายในห้องน้ำ

เรียบเรียงข้อมูลจากเฟชบุ๊ก Jessada Denduangboripant ของ ผศ.ดร. เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์

วิธีป้องกันงูเข้าบ้านแบบระยะยาวและได้ผล

1.กำจัดแหล่งอาหารของงู ปกติงูมักจะเข้าไปภายในบ้านที่มีแหล่งอาหารของพวกมันอย่างหนู ดังนั้นเราควรดูแลบ้านไม่ให้มีสัตว์เหล่านี้ โดยควรดูแลบ้านให้สะอาดสะอ้าน ไม่รกรุงรังจนกลายเป็นที่อยู่ของหนู จัดเก็บทิ้งขยะให้เป็นที่เป็นทางหรือหากคุณเป็นคนชอบเลี้ยงสัตว์จำพวกนก ไก่ ก็ควรทำกรงที่อยู่ของพวกมันให้มิดชิด อุดรอยรั่วหรือช่องต่างๆ ที่งูจะสามารถเข้าไปได้

2.เลี้ยงสุนัขไว้เป็นตัวช่วย คู่อริอีกตัวหนึ่งของ "งู" หากที่บ้านใครเลี้ยงหมา มันสามารถช่วยสอดส่องดูแล และป้องกันงูเข้าบ้านได้ในระดับหนึ่ง นอกจากสุนัขแล้วยังมี แมว ห่านและพังพอน ซึ่งเป็นศัตรูกับงู ดังนั้นหากอยากใช้วิธีเลี้ยงสัตว์ไว้ป้องกันงู เราขอแนะนำสัตว์เหล่านี้

3.จัดการพื้นที่บ้านไม่ให้งูอยากอยู่ อย่าทิ้งพื้นที่ให้รกซึ่งจะเป็นแหล่งให้งูสามารถหลบซ่อนได้ นอกจากนี้ยังต้องสำรวจว่าตามบ้านมีรู หรือช่องตรงไหน จากนั้นก็อุดรู ใส่ตะแกรงท่อระบายน้ำ หรือทุกเส้นทางที่จะเข้าไปในตัวบ้าน ( โดยเฉพาะโพรงใต้บ้าน กลบหลุมหรือโพรงที่มีตามสนามหรือขอบรั้ว กำแพง ตัดกิ่งไม้ที่พาดหรือใกล้ชายคาตัวบ้านหรือรั้ว กำแพงบ้านออกด้วย

4.ป้องกันงูเข้าบ้านด้วยสิ่งเหล่านี้ ใช้ผงกำมะถันผสมน้ำแล้วราดบริเวณรอบๆ บ้าน แต่วิธีนี้ต้องทำบ่อยๆ อย่างน้อยเดือนละครั้ง เพราะกำมะถันจะเจือจาง และแผ่นกันงู เอาไว้ป้องกันในแนวดิ่ง เช่นเสา กำแพง วัสดุมีความลื่นสูง งูจะไม่สามารถเลื้อยขึ้นไปได้

นอกจากจะจัดบ้านเพื่อป้องกันไม่ให้งูมารบกวนแล้ว แต่ถ้าบังเอิญว่ามีงูเข้ามาและมีการเผชิญหน้ากันโดยตรง แล้วเราจะทำอย่างไร?

สังเกตว่างูนั้นมีพิษหรือเปล่า วิธีสังเกตง่ายๆ คือหากหัวของงูมีลักษณะเป็นสามเหลี่ยมนั่นคืองูมีพิษ แต่ถ้าหัวกลมมนเป็นงูไม่มีพิษ ซึ่งบ้านเรามีอยู่ 2 พวกคืองูเหลือม งูหลาม กับ งูเห่า ซึ่งแยกจากกันค่อนข้างชัดเจน โดยงูเหลือมงูหลามเป็นงูไม่มีพิษแต่มีอันตรายโดยการรัดเหยื่อ ส่วนงูเห่ามีแม่เบี้ยแผ่ให้เห็นชัดเจน ทำร้ายโดยการกัดและปล่อยพิษ ฉะนั้นการหลบหลีก หรือจับก็จะแตกต่างกัน และต้องได้รับการฝึกฝนเป็นการเฉพาะ

เจองูแล้วไม่ควรไล่ เพราะถึงไล่ไปมันก็จะกลับมาอีก รวมทั้งถ้าเจอมันแล้วให้อยู่นิ่งๆ แล้วค่อยๆ ถอยตัวหนีออกมาอย่างช้าๆ และควรอยู่ในระยะที่ปลอดภัย

กันสมาชิกในบ้านให้อยู่ห่างมันไว้ สังเกตการเคลื่อนที่ของมันว่ามันไปทิศทางใด จากนั้นกันสมาชิกในบ้านให้อยู่ห่างจากมัน และเราไม่ควรเสี่ยงเข้าไปจับงูด้วยตนเอง เพราะไม่มีความชำนาญ แต่เราควรโทรศัพท์แจ้งขอความช่วยเหลือ องค์การสวนสัตว์ โทร. 02 282 7111 ต่อ 3 

 
ที่มา : https://home.sanook.com
( วันที่ 2 มิถุนายน 2559 )

 
ศูนย์รับสร้างบ้านพีดีเฮ้าส์
เราสร้างบ้านเพื่ออนาคต

Line