หน้าแรก / สาระน่ารู้ / เกร็ดความรู้
เกร็ดความรู้
หน้าแรก / เกร็ดความรู้

ออกแบบห้องน้ำรองรับผู้สูงอายุ ผู้พิการ

Line

ออกแบบห้องน้ำรองรับผู้สูงอายุ ผู้พิการ

Line



ออกแบบห้องน้ำให้รองรับกับทุกคน ลงทุนครั้งเดียวใช้ได้ตลอดชีวิต


        ช่วงเวลาที่คนส่วนใหญ่ตัดสินใจสร้างหรือซื้อบ้าน มักเป็นช่วงวัยหนุ่มสาว วัยผู้ใหญ่เต็มตัวที่ยังมีเรี่ยวแรงทำงาน ร่างกายกระชับแข็งแรง จึงอาจมองข้ามสิ่งใกล้ตัวที่อยู่ร่วมกับเราเพียงแค่ปัจจุบันยังไม่ถึงเวลาที่จะแสดงตัวตนออกมา นั่นก็คือ “ความแก่” หากยังไม่สิ้นลมหายใจเราทุกคนต้องแก่อย่างเลี่ยงไม่ได้ เมื่อแก่ตัวไปร่างกายจากที่แข็งแรงค่อยๆทรุดโทรมลงไป จะหยิบจับทำอะไรก็ดูเป็นเรื่องลำบากไปหมด เพราะฉะนั้นการออกแบบบ้านที่ดี ควรออกแบบเผื่อไว้ถึงอนาคต เพราะบ้านเป็นสถานที่ที่เราจะต้องอยู่อาศัยไปอีกนาน บางคนอาจหมายถึงตลอดชีวิต สำหรับบทความชุดนี้ ขอหยิบยกข้อมูลในการออกแบบบ้าน เพื่อให้รองรับกับคนทุกๆวัย โดยจะพูดถึงห้องน้ำ เนื่องด้วยเป็นห้องสำคัญพื้นฐานในการดำรงชีวิตจำเป็นต้องป้องกันอย่างพิเศษค่ะ
 

 

14 ข้อสำคัญห้องน้ำผู้สูงอายุ ผู้พิการ
 
ความกว้าง : ห้องน้ำควรออกแบบให้มีความกว้างอย่างน้อย 150 x 200 เซนติเมตร ยิ่งกว้างยิ่งดี
สุขภัณฑ์ : สุขภัณฑ์ห้องน้ำ เป็นส่วนสำคัญในการใช้งาน ควรเลือกโถสุขภัณฑ์รุ่นที่มีที่นั่งสูงจากพื้น 43-45 เซนติเมตร
ซึ่งจะเป็นระดับที่ลุกนั่งได้สะดวกเมื่อใช้งานร่วมกับราวทรงตัว
ก็อกน้ำ : ทุกๆตำแหน่งที่มีก็อกน้ำ ทั้งอ่างล้างหน้า ฝักบัวอาบน้ำ เลือกใช้ก็อกน้ำแบบก้านยาว ช่วยให้เปิดปิดได้สะดวก
พื้นไม่ลื่น : โดยปกติห้องน้ำมักออกแบบแยกโซนเปียกแห้งไว้เพื่อการดูแลที่ง่าย อีกทั้งยังช่วยให้ปลอดภัยขึ้น
แต่โซนเปียกแห้งที่ออกแบบกันนิยมทำพื้นโซนเปียกหรือโซนอาบน้ำ ต่ำกว่าโซนอื่นๆ
ตรงจุดนี้เป็นจุดอันตรายที่ไม่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ ควรออกแบบพื้นห้องน้ำให้อยู่ระดับเดียวกัน
หากเป็นห้องน้ำเดิมที่ทำพื้นไว้อยู่แล้ว ให้ทำการรื้อกระเบื้องพื้นและโถสุขภัณฑ์เดิมออก
เทปูนทรายปรับระดับพื้นห้องน้ำและทำการปูกระเบื้องใหม่ โดยกระเบื้องที่นำมาใช้ควรมีค่าความฝืดผิวกระเบื้องตั้งแต่ R10 ขึ้นไป
สีของกระเบื้องพื้นควรเลือกสีที่มีความแตกต่างกับผนังและชุดสุขภัณฑ์อย่างชัดเจน
แสงสว่างเพียงพอ : ลักษณะการใช้งานภายในห้องน้ำ จำเป็นต้องหยิบจับของใช้จำเป็นต่างๆ
ควรจัดให้มีแสงสว่างอย่างเพียงพอโดยเลือกใช้แสงสีขาวจะได้มุมมองที่ชัดเจนกว่าโทนแสงอื่นๆ
ราวจับ : ติดตั้งราวจับในตำแหน่งที่ต้องออกแรงเคลื่อนไหวร่างกาย ยืนใช้งาน
หรือโซนเปียก เช่น ตำแหน่งข้างโถส้วม , อ่างล้างหน้า , ห้องอาบน้ำ
ชั้นตู้ลอย : กรณีมีชั้นตู้ลอยเก็บของ ควรติดตั้งในตำแหน่งไม่สูงเกินไป สามารถเอื้อมมือถึงโดยไม่ต้องเขย่งเท้า
กระจกเงา : ติดตั้งในระดับให้มองเห็นได้ทั้งนั่งและยืน โดยเลือกใช้กระจกทรงสูง
ฝักบัวอาบน้ำ : เลือกแบบที่มีแรงดันน้ำต่ำ หรือปรับระดับแรงดันน้ำได้ ตำแหน่งของฝักบัวสามารถปรับขึ้นลงได้
เพื่อรองรับกับการใช้งานทุกคนในบ้าน
ที่นั่งอาบน้ำ : สำหรับผู้สูงอายุ หรือผู้พิการที่ไม่สามารถยืนได้นาน ควรมีเก้าอี้อาบน้ำไว้ภายในห้องน้ำ
ขนาดความสูงของเก้าอี้ประมาณ 45-50 เซนติเมตร ขาเก้าอี้ควรมีความฝืด ไม่ลื่นไถล
ลูกบิดประตู : เลือกแบบมีก้านจับ เพื่อให้เปิดปิดง่าย และควรใช้กลอนในห้องน้ำที่สามารถเปิดจากภายนอกได้
เพื่อรองรับกรณีฉุกเฉินเกิดอุบัติเหตุภายในห้องน้ำ ผู้อยู่ข้างนอกสามารถเข้ามาช่วยได้ทัน
ตะขอแขวนเสื้อ : ติดตั้งไว้ในระดับเอื้อมถึง ประมาณ 140-150 เซนติเมตร
ผ้าเช็ดเท้า : ติดตั้งเทปกาวสองหน้าเพื่อให้ยึดกับพื้น ป้องกันการลื่นไถล
ธรณีประตู : กรณีจำเป็นต้องมีธรณีประตู ควรให้ความสูงไม่เกิน 2 เซนติเมตร
     
 
ที่มา : บ้านไอเดีย
( วันที่ 15 สิงหาคม 2559 )

 
ศูนย์รับสร้างบ้านพีดีเฮ้าส์
เราสร้างบ้านเพื่ออนาคต

Line